Loy kratong

Aktivitäten/ Info

 

วันที่นำเข้าข้อมูล 9 Nov. 2023

 

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 9 Nov. 2023

|  56 view

Allgemeine Informationen zum „Loy Krathong Festival“

wp4223568-loy-krathong-wallpapers

Loy Krathong „Was ist Loy Krathong? Warum? Wer profitiert vom Loy Krathong Festival?

Loy Krathong ist eines der nationalen Feste Thailands. Es wurde 2011 in die Liste des nationalen immateriellen Kulturerbes in der Kategorie soziale Praktiken, Rituale, Bräuche und Feste aufgenommen. 

Über den Ursprung von Loy Krathong gibt es mehrere Erklärungen und Legenden. Die zuverlässigste Annahme ist jedoch, dass das Fest in diesem Land von „Suvarnabhimi“, was „Goldenes Land“ bedeutet, seit langem traditionell praktiziert wird.

Die kulturelle Veranstaltung, die Loy Krathong in Thailand ähnelt, findet auch in Indien, Myanmar, Laos und Kambodscha statt. In der Hochwassersaison setzen Menschen, die für ihren Anbau auf Wasserstraßen angewiesen sind, einen Krathong, einen Schwimmkörper unterschiedlicher Größe, auf dem Wasser. Das Schwimmen von Krathong soll der Göttin des Wassers oder heiligen Wesen dafür danken, dass sie Wasser und die Fruchtbarkeit des Bodens spenden.

 

Wann wird das Loy Krathong Festival organisiert?

Die Thailänder feiern das Loy-Krathong-Fest in der Vollmondnacht des 12. Mondmonats.

Dieses Festival variiert von Region zu Region des Landes. In der Zentralregion wird es häufig als freudiges Ereignis mit Aufführungen und einem Feuerwerk abgehalten. Normalerweise stellt man Krathong aus Bananenblättern oder einem Bananenbaumstamm her. Der Krathong enthält einige Blumen, Kerzen und Räucherstäbchen. Menschen versammeln sich an Flussufern und Kanälen. Sie wünschen sich etwas und werfen ihren Krathong auf das Wasser, um die Göttin des Wassers um Vergebung für ihre Sünden bei der Verschmutzung der Wasserstraßen zu bitten.

In der nördlichen Region lassen die Menschen Krathong schwimmen, um Laternen, Blumen, Kerzen und Räucherstäbchen als Hommage an den buddhistischen Mönch Upagupta zu schicken, einen Arahant, von dem man annimmt, dass er unter Wasser lebt. Um dieses Fest zu feiern, putzen die Menschen ihre Häuser, schmücken das Buddha-Regal mit Blumen und zünden Laternen oder Kerzen als Opfergabe für Buddha an. Sie fertigen auch die „drehende Laterne“, genannt „Khom Phat“, zur Dekoration des Tempels an und hören die ganze Nacht über den Mahajati-Predigten zu. Außerdem werden Laternen in den Himmel geschossen, um die Chulamani-Pagode im Himmel anzubeten.

Im Süden wurde in der Vollmondnacht des 12. Mondmonats in der Vergangenheit kein Loy-Krathong-Fest gefeiert. Bei dieser Gelegenheit stellten die Menschen einen Schwimmkörper her, der Lebensmittel enthielt, und ließen sie in Wasserläufe fallen. Sie glaubten, dass der Wagen Sünden, Unglück und Krankheiten wegtragen würde.

Im Nordosten wird das Loy-Krathong-Fest als „Prozession des beleuchteten Bootes“ bezeichnet. Es findet anlässlich der buddhistischen Fastenzeit zwischen dem 15. Tag des zunehmenden Mondes des 11. Mondmonats statt. Die Menschen werden sich in einer Gruppe in einem Tempel in der Nähe ihrer Häuser versammeln und die Gruppe wird Bootsrennen und eine beleuchtete Bootsprozession veranstalten, um diesen besonderen Anlass zu feiern.

 

Wert des Loy Krathong Festivals

Loy-Krathong-Festivals mögen in allen Regionen des Landes im Detail unterschiedlich sein, aber sie haben einen gemeinsamen kulturellen Wert, der die Bande der Einheit zwischen Familien und Gemeinschaften stärkt und zum Buddhismus und zur thailändischen Gesellschaft als Ganzes beiträgt.

Für Familien bietet Loy Krathong die Möglichkeit, gemeinsam Aktivitäten durchzuführen. Sie können bei dieser Gelegenheit auch Respekt im Gedenken an ihre verstorbenen Vorfahren zeigen.

Was die Gemeinschaften betrifft, trägt das Loy Krathong Festival durch Sozialisierung und freudige Aktivitäten dazu bei, die Einheit und Zuneigung der Menschen zu fördern. Es wird auch lokales Kunsthandwerk und Kunsthandwerker fördern. Loy Krathong trägt auch zum Buddhismus bei, da Menschen diese Gelegenheit nutzen, um Verdienste zu erlangen, buddhistische Gebote zu befolgen und buddhistische Lehren zu praktizieren.

Darüber hinaus ist das Loy Krathong Festival auch für die Gesellschaft von Bedeutung, da es die Menschen dazu ermutigt, sich um die Umwelt zu kümmern. Das Festival schafft Bewusstsein für die Bedeutung von Flüssen und Kanälen.

 

Abschluss

Der Wert von Loy Krathong in verschiedenen Dimensionen gilt als Schlüsselfaktor für die Erhaltung des kulturellen Erbes des Landes über Generationen hinweg. Zahlreiche Menschen praktizieren dieses altehrwürdige Fest weiterhin in großem Umfang und es ist zu einer der einzigartigen Identitäten Thailands geworden.

 

Quelle: Department of Cultural Promotion of Thailand

พระเวสสันดรชาดก

พระเวสสันดร

เรียบเรียงโดย  วัชร์เบญญ์

พระ พุทธเจ้าของพวกเรานั้น กอ่นที่พระองค์จะได้มาเป็นพระพุทธเจ้าได้ทรงสั่งสมคุณงามความดีไว้อย่างมาก มายมหาศาล แต่พระชาติที่สำคัญมีอยู่ ๑๐ ชาติคือ

.     เป็น พระเตมีย์ (แกล้งเป็นใบ้เพื่อจะไม่ต้องเป็นกษัตริย์) บำเพ็ญเนกขัมมะบารมี ถือบวช

.    เป็นพระเจ้ามหาชนก บำเพ็ญวิริยะบารมี ความเพียร เรือสินค้าล่มว่ายน้ำอยู่ ๗ วัน จนพ้นภัย

.    เป็นสุวรรณสาม บำเพ็ยวิริยะบารมี  เลี้ยงดูพ่อแม่ตาบอดอยู่ในป่า

.    เป็นพระเจ้าเนมิราช บำเพ็ญอธิษฐานบารมี คือตั้งใจแน่วแน่

.    เป็นพระมโหสถ บำเพ็ญปัญญาบารมี ปกครองอย่างมีเหตุผล

.     เป็นะรภูริทัต(เป็นพญานาค) บำเพ็ญศีลบารมี

.    เป็นพระจันทะกุมาร บำเพ็ญขันติบารมี มีความอดทน

.    เป็นพระนารทะ บำเพ็ญอุเบกขาบารมี มีความเป็นกลาง

.     เป็นพระธูรบัณฑิต บำเพ็ญสัจจะบารมี มีความซื่อสัตย์

๑๐. เป็นพระเวสสันดร บำเพ็ญครบทุกบารมี เป็นพระชาติสุดท้าย

 ในพระชาติที่ทรงเป็นพระเวสสันดรนี้ ได้ทำบารมีครั้งยิ่งใหญ่ครบทั้ง ๑๐ บารมี จึงเรียกว่า มหาชาติ หมายถึงชาติที่ยิ่งใหญ่ นอกจากนี้ มหาชาติ มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า คาถาพัน เพราะในภาษาบาลีนั้น แต่งเป็นพระคาถา(กลอน) ทั้ง ๑๓ กัณฑ์นับได้ ๑ พันคาถาถ้วน

 

ความเป็นมา

                  ในคราวที่พระพุทธเจ้าเสด็จกลับคืนยังเมืองกบิลพัสดุ์ครั้งแรกกับพระภิกษุสงฆ์นั้น       ประยุร ญาติบางองค์เห็นว่าพระพุทธเจ้าอ่อนพระชนมายุกว่าจึงไม่ทำความเคาระ พระพุทธองค์จึงทรงแสดงอภินิหารโดยเหาะขึ้นบนอากาศเปล่งรัศมีสว่างไสว แล้วฝนโบกขรพรรษ เม็ดสีแดง ก็ตกลงมา ซึ่งใครไม่ประสงค์จะให้เปียกก็ไม่เปียก พระสงฆ์จึงสนทนากันด้วยความอัศจรรย์ใจ พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่าฝนนี้เคยตกมาแล้งในอดีตชาติเมื่อคราวที่พระองค์ทรง เป็น พระเวสสันดร จากนั้นพระพุทธเจ้าได้ตรัสเรื่องพระเวสสันดรชาดกให้แก่พระสงฆ์และประยุรญาติ ฟัง

            เรื่องพระเวสสันดร ปรากฏในพระไตรปิฏก ในพระสูตร ขุททกนิกาย ชาดก      มหานิบาต

          ประวัติการเทศน์มหาชาติ

           การ เทศน์มหาชาติ มีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย จนถึงปัจจุบัน เนื่องจากบรรพบุรุษไทยเราพิจารณาเห็นว่า พระเวสสันดร เป็นตัวอย่างที่ควรนำมาศึกษาและเผยแผ่ให้ประชาชนได้ทราบและถือเอาคติ แนวทางที่ดีมาเป็นแบบอย่างในชีวิตประจำวันได้ จึงพากันจัดพิธีเทศน์มหาชาติขึ้น

                คติธรรมคำสอนใน มหาชาติ

          มหาชาติ หรือ มหาชาติคำหลวง จัดเป็นวรรณคดีที่ดี น่าศึกษา เนื่องจากเป็นบท           ประพันธ์ (แปล และ เรียบเรียง) ของผู้ทรงความรู้ทางการศึกษาทั้งที่เป็นพระสงฆ์ นักปราชญ์ ราชบัณฑิต หลายท่าน

          ใน เนื้อหา ประกอบไปด้วยตัวละครที่มีบทบาทต่าง ๆ กัน ผู้สนใจสามารถศึกษาวิเคราะห์อุปนิสัยใจคอของแต่ละตัวละครคัดสรรมาปรับใช้ใน ชีวิตประจำวันในยุคปัจจุบันได้อย่างดี ทั้งในชีวิตระดับนักปกครองปละระดับชาวบ้าน

 

เรื่องย่อและข้อคิดจาก พระเวสสันดร

กัณฑ์ที่ ๑ ทศพร (พระ ๑๐ ประการ) มี ๑๙ พระคาถา

เนื้อเรื่อง  พระนางผุสดีพระมารดาของพระเวสสันดร เคยได้ถวาย จันทร์แดง-               เครื่อง ประทินผิวอย่างดี แด่พระวิปัสสีพระพุทธเจ้า แล้วทรงตั้งจิตอธิษฐานว่า เกิดชาติหน้าขอให้ได้เป็นพระมารถาของพระโพธิสัตว์(คือผู้ที่จะได้ตรัสรู้ เป็นพระพุทธเจ้า)สักองค์หนึ่งเถิด

ต่อมา พระนางได้อุบัติเป็นเทพธิดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เมื่อถึงคราจะสิ้นบุญ ก็ทูลขอพร ๑๐ ข้อ จากท้าวมัฆวานผู้เป็นภัสดา(สามี) คือ

ข้อ จากท้าวมัฆวานผู้เป็นภัสดา(สามี) คือ

.     ขอให้ได้ไปเกิดในตระพูลแห่งพระเจ้าสีพี

.    ขอให้มีดวงตางดงามดังนับน์ตาของเนื้อทราย

.    ขอให้มีคิ้วโค้งงอนประหนึ่งจันทร์อ่อนที่ปรากฏบนท้องฟ้า

.    ขอให้ได้ชื่อว่า ผุสดี เช่นเดิม

.    ขอให้ได้บุตรผู้มีบุญเลิศล้นด้วยคุณสมบัติ

.     ยามทรงพระครรภ์ ขออย่าให้พระควรรภ์โย้นูน

.    ขอให้ถันเต่งตั้งดังดอกบัวที่ตูมอยู่เสมอ อย่างได้คล้อยเคลื่อน

.    ขอให้เส้นเกศาดำขลับ มันระยับย่อง อย่าได้หงอก

.     ขอให้ผิวเนื้อละเอียดเป็นนวลละอองดังทองคำธรรมชาติ

๑๐. ขอให้มีอำนาจในการทุเลา ปลดปล่อยนักโทษ

ข้อคิด  การ ทำบุญจะสำเร็จได้ต้องอธิฐาน ตั้งเป้าหมายที่ตนต้องการไว้และหมั่นรักษาศีล ทำความดีเพื่อความดีแท้ ไม่ใช่เพื่อโอ้อวดแก่ผู่อื่น พยายามทำจนสุดความสามารถเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้น

 

กัณฑ์ที่ ๒ หิมพานต์(ป่าหิมพานต์)มี ๑๓๔ พระคาถา

           พระ นางผุสดีมาปฏิสนธิในตระกูลกษัตริย์เมืองสีพี ผิวพรรณวรรณะประหนึ่งได้รับการลูบทาด้วยผงแก่นจันทร์ พระประยุรญาติจึงได้ถวายพระนามว่าผุสดี

ครั้นพระ ชนมายุได้ ๑๖ ชันษา ทรงสมรสกับพระเจ้ากรุงสญชัย ต่อมา ขณะที่ทรงครรภ์ถ้วนครบ ๑๐ เดือน มีประสงค์จะชมตลาด จึงพาสนมกำนัลเดินชมพระนครแล้วก็ประสูติพระราชกุมาร ณ ที่นั้น พระกุมารจึงได้นามว่า เวสสันดร แปลว่า ผู้เกิดกลางตลาด

เมื่อพระเวสสันดร มีชนมายุได้ ๑๖ ชันษา ก็ได้อภิเษกกับพระนางมัทรี และมี  พระโอรสและพระธิดา ๒ พระองค์คือ ชาลีและกัณหาชินา

กล่าว ถึงเมืองกลิงครัฐ ซึ่งอยู่ใกล้เคียงกัน เกิดข้าวยากหมากแพงฝนแล้งไม่ตกต้องตามฤดูกาล ชาวเมืองพากันบวงสรวลต่าง ๆ เช่น แห่นางแมว แต่ก็ไม่สำเร็จต่างก็นึกได้ว่า พระเวสสันดรทรงมีช้างแก้วมงคลชื่อว่า ปัจจัยนาเคน ขับขี่ไปที่ใด ฝนก็จะตกลงทุกแห่ง ทำให้ข้าวกล้าธัญญาหารสมบูรณ์ได้จึงได้ส่งพราหมณ์ ๘ คน ไปทูลขอซึ่งพระเวสสันดรผู้เปี่ยมล้นด้วยพระกรุราประทานช้างให้ไป ทำให้ชาวเมืองสีพีบางส่วนมิเข้าใจในพระเจตนาอันสูงส่งของพระองค์ จึงจัดการปลุกระดมด้วยการเดินขบวนให้พระเจ้าสัญชัยขับไล่พระเวสสันดรออกจาก เมือง  พระเวสสันดรมิประสงค์จะให้พระนครเกิดพินาศร้าวฉานจึงยอมที่จะเสด็จออกจากพระนคร

ฝ่าย พระนางมัทรี นับว่าพระนางเป็นหญิงใจงามและน้ำใจเด็ด ที่ขอเสด็จติดตามไปด้วยโดยทูลเหตุผลว่าสามีภรรยาเป็นประดุจสำเภาลำเดียวกัน หากจมต้องจมทั้งลำ หาได้เลือกจมเฉพาะหัวหรือท้ายไม่และนางได้พรรณาวาดภาพการดำรงชีวิตในป่าและ ความงดงามและความน่ารื่นรมย์แห่งป่าหิมพานต์ให้พระภัสดาฟังเพื่อให้คลายความ วิตกกังวล

ข้อคิด

.     การทำดีย่อมมีอุปสรรค มารไม่มี บารมีไม่เกิด

.    คนดีเกิดที่ไหนไม่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็นปราสาท กลางตลาด หรือบาทวิถี สำคัญที่ทำดีหรือเปล่า

.    ความเห็นแก่ตัวและไม่เข้าใจกัน เป็นภัยของการอยู่ร่วมกัน

.    การแบ่งปัน เป็นหัวใจสำคัญของการสร้างสรรค์สังคม

.    คู่ครองที่ดี ให้ดูพระนางมัทรีเป็นแบบอย่าง ไม่หลงระเริงในยามสุข ไม่ละเลยคู่ทุกข์ในยามยาก

กัณฑ์ที่ ๓ ทานกัณฑ์(การให้) มี ๒๐๙ พระคาถา

พระ นางผุสดี ทราบข่าวว่าพระเวสสันดรถูกขับออกจากวังก็สลดพระทัย ได้ไปทูลอ้อนวอนพระเจ้าสญชัย ให้ลดหย่อนผ่อนโทษ แต่ไม่สำเร็จพระเวสสันดร หลังจากยอมรับคำตัดสินของพระราชบิดาที่ให้ออกจากพระนครก็มิได้ทรงหวั่นไหว ด้วยพระทัยมุ่งหมายบรรลุเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตกาล ก่อนจะเสด็จออกจากเมืองสีพี เข้าเขาคีรีวงกตนั้นได้ทำมหาอนาคตกาล ก่อนจะเสด็จออกจากเมืองสีพี เข้าเขาคีรีวงกตนั้นได้ทำมหาทานอย่างยิ่งใหญ่ คือพระราชทานช้าง ม้า โค เป็นต้น ชนิดละ ๗๐๐ ตัวแล้วก้ทูลลาพระราชบิดา พระราชมารดา เพื่อเดินทางไปโดยพระนางมัทรีนั้นแม้พระเจ้าสญชัยจะอ้อนวอนให้อยู่ก็ไม่ ประสงค์จะอยู่ต่อ ต้องการไปดูแลปรนนิบัติพระเวสสันดรในป่า ฉะนั้น ชาลีกุมาร และ กัณหาชินากุมารี ก้ต้องไปกับพระมารดาด้วย

ข้อคิด

.     มีบุญเขาก็ยก ต่ำตกเขาก้หยาม ชีวิตมีทั้งขื่นขมและชื่นชม

.    ความรักของแม่ ความห่วงใยของเมีย ยิ่งใหญ่กว่ารักและห่วงของใคร ๆ ในโลก

.    เพื่อประโยชน์สุขของส่วนรวม ผู้มุ่งโพธิญาณ ย่อมมิหวั่นต่ออุปสรรค แม้สุขส่งนตนก็สละได้ในทุกเมื่อ

.    โทษทัณฑ์ของการเป็นหม้ายคือถูกสังคมดูหมิ่นเหยียดหยาม

.    หากไม่เคยชอกซ้ำ ไฉนเลยจะมีวันได้ฉ่ำหวาน

.     ชีวิตเป็นอนิจจัง อย่าจริงจัวจนเกินไปนัก

 

กัณฑ์ที่ ๔ วนประเวศน์ (เดินป่า) มี ๕๗ พระคาถา

           พระ เวสสันดร พระนางมัทรี ชาลี กัณหา เสด็จจากนครหลวงมุ่ง สู่ป่าเขาคีรีวงกต พระชาลี กัณหา ที่เคยแต่เสวยสุขสำราฐในพระนคร ต้องมาจรบุกไพร น้ำพระเนตรไหลนอง ระหว่างทางพระเวสสันดร ได้รับไมตรีจิตจากกษัตริยืแห่งเจตราช อาสาจะเป็นผู้ไปทูลขออภัยโทษจากพระเจ้าสญชัย พระราชบิดา พระองค์ก็มิทรงปรารถนาจะให้เดือดร้อน ครั้นจะแบ่งพระนครให้อาศัยก็มิทรงรับ ขอเพียงแต่ชี้หนทางไปยังเขาคีรีวงกตให้เท่านั้น กษัตริย์แห่งเมืองเจตราฐแต่งตั้งพรานชื่อเจตบุตรเป็นพนักงานดูแลรักาทางเข้า ป่า มิให้ใครผู้ใดเข้าไปรบกวนพระเวสสันดรซึ่งประทับอยู่ ณ อาศรมหลังหนึ่งเพียงลำพัง ส่งนพระนางมัทรีชาลี และ กัณหา ประทับอยู่อีกหลังต่างหาก ไม่ได้ไปมาหาสู่กันฉันท์โลกียวสัย พระนางมัทรีได้แนะนำสองกุมารให้รู้จักดูแลตัวเองและดูแลกันและกัน เมื่ออยู่ในป่าสี่กษัตริย์ก็มีความสุขเสมอมา

ข้อคิด

Pra wassandorn

Bevor Lord Buddha als Buddha geboren wurde, hatte er sich durch zahlreiche gute Taten hervorgetan. So warden seine letzten 10 Leben als die bedeutendsten angesehen. Seine Namen waren z.B.Teminya, Suwannasama, Wessantara( Pra Wessandorn auf Thai genannt ) etc.

Das 10. und letzte Leben als Phra Wessandorn ist das herausragendste leben vor seiner Wiedergeburt als Lord Buddha.

 

Die Geschichte dieses Lebens ist in 13 Episoden geschildert

1.    Prinzessin Phussadi hatte wohlriechendes Holz dem seinerzeitgen Buddha geschenkt und darum gebeten, in ihrem naechsten Leben die Mutter des naechsten Buddha zu warden. Anmerkung:Ein angestrebtes Ziel kann mann durch Ausdauer, Geduld und Gutmuetigkeit erreichen.

2.    In ihrem naechsten Leben heiratete Prinzessin Phussadi im Alter von 16 Jahren Koenig Sonchai von Sivi und gab einen Sohn, der den Namen Wessandorn Bekam.Auch er heiratete im Alter von 16 Jahren. Seine Frau war Prinzessin Matsi.

Sie bekamen einen Sohn (Chali) und eine Tochter (Ganhachina)Das Nachbarkoenigreich Kalingka Litt unter grosser Wassernot und bat Phra Wessandorn um Hilfe. Dieser schenkte der Bevoelkerung von Kalingka einen weissen Elefanten, der yuvor Sivi viel Glueck und Wohlergehen gebracht hatte. Das Volk von Sivi war erbost ueber die Handlung des Prinzen und bat den Koenig, den Prinz zu verstossen. Um keine Unruhen in der Stadt yu verursachen, verliess Phra Wessandorn mit seiner Familie die Stadt.

Anmerkung:

- friedfertiges Zusammenleben in Gemeinschaft ist nur ohne Selbstsucht moeglich

- gute Partnerschaft bedeutet Zusammenhalten in guten wie in schlechten Zeiten.

3. Bevor Phra Wessandorn sein Land verliess, gab er alle seine Besitztuemer her. Dann verabschiedete er sich von seinen Eltern und ging mit seiner Familie fort.

Anmerkung:

- im Leben gibt e simmer Auf und Ab

- Mutterliebe und die Fuersorge der Ehefrau sind hoechste Gueter

- Wer niemals Traurigkeit erfahren hat, weiss nicht das Glueck zu schaetzen.

4.    Auf seinem Weg kam Phra Wessandorn in die Stadt Ceta, deren Koenig ihm die Herrschaft ueber die Stadt anbot. Phra Wessandorn lehnte jedoch ab und begab sich in Begleitung des jaegers Jetabuth, der ihm zum Schutz vom Koenig mitgegeben worden war, in die Bergregion Kirii Vonggot. Dort lebte er mit seiner Familie in zwei gerennten Huetten.

Anmerkung:

-         eine noble Geste ist es, Menschen in Not zu helfen

-         mehr Geben als Nehmen bedeutet Menschenliebe

5.    Chuchok  war sein leben lang Bettler gewesen. Er hatte schon viel Geld erbettelt. Da er grosse Angst hatte, dass sein Geld gestohlen warden koennte, brachte er es einem Freund zur Aufbewahrung. Da Chuchok einige jahr nichts von sich hoeren liess, glaubte sein Freund, er sei tot und so gab er das Geld aus. Aber eines Tages kam Chuchok zurueck und wollte sein Geld wiederhaben. Da sein Freund das Geld bereits ausgegeben hatte, wollte dieser ihm seine junge, huebsche Tochter Amitada geben. Amitada gehorchte ihren Eltern und ging mit Chuchok, der sie heiratete. Sie war eine gute Frau und kuemmerte sich um ihren Mann ihr Leben lang.  Die anderen Maenner waren neidisch auf Chuchok und verlangten von ihren Frauen, sie sollten wie Amitada sein. Die anderen Frauen aergerten sich nun ueber Amita und fingen an, sie yu hassen. Sie schimpften mit ihr. Schliesslich weigerte sich Amitada, ihr Haus yu verlassen und verlangte von Chuchok, er sole  einige Diener besorgen. Da Chuchok von Phra Wessandorns Grosszuegigkeit und Guete gehoert hatte, entschied er sich, ihn in Kirii Wonggot aufzusuchen und ihn zu bitten, ihm seine beiden Kinder als Diener fuer seine Frau zu ueberlassen.

Anmerkung: was nicht zusammenpasst, wird nicht gut enden oder Unglueck bringen.

 

6.    Chuchok ging nach Kirii Wonngot und traf dort den Jaeger Jetabuth, der ihn nicht zu Phra Wessandorn lassen wollte. Chuchok log deshalb und sagte, das er von Koenig Sonchai geschickt worden sei, um Phra Wessandorn nach Hause zu holen. Daraufhin liess Jetabuth ihn zu Phra Wessandorn gehen.

7.    Auf dem Weg zur Huette von Phra Wessandornd  traf Chuchok den Einsiedler Phra A-djuta, Auch ihm erzaehlte er, das er ein Freund von Koenig Sonchai sei, der ihn gebeten habe, Phra Wessandorn nach Hause zurueck yu holen. Der Einsiedler glaubte ihm, gab ihm Bleibe fuer eine Nacht und zeigte ihm den Weg yu Phra Wessandorns Huette.

Anmerkung:

-         Wer Macht hat, aber nicht schlau ist, kann leicht getaeuscht warden.

-         Dumme koennen leicht von Schlauen getaeuscht warden.

-         Man sollte niemandem leicht vertrauen.

Als Chuchok die Huette von Phra Wessandorn erreicht hatte, wartete er, bis Matsi zum Fruechtesammeln in den Wald gegangen war. Erst dann ging er zu Phra Wessandorn. Nachdem Chuchok um Herausgabe der Kinder gebeten hatte, wollte Phra Wessandorn die Rueckkehr von Matsi abwarten.  Chuchok lehnte dies ab. Daraufhin willite Phra Wessandorn ein, die Kinder im     Austausch mit den Dienern zu Koenig Sonchai zu bringen . Aber Chuchok lehnte auch dieses ab. Als die Kinder den Wortwechsel hoerten, rannten sie fort,um sich undter den grossen Lotusbluettern im Teich yu berstecken, so dass Chuchok sie nicht finden konnte. Daraufhin schimpfte er heftig mit Phra Wessandorn und beschuldigte ihn, sein Wort nicht yu halten und ihn getaeuscht zu haben. Schliesslich fand Phra Wessandorn die Kinder und uebergab sie an Chuchok.

Anmerkung:

-         gutes Vorausplanen bringt Erfolg

-         staendiges Selbstbewusstsein kann Gefahren verhindern

-         Ausdauer kann zum Ziel fuehren

-         Frauen sind sehr grosszuegig, aber sie widen nie ihre Kinder weggeben.

5.    Auf dem Weg vom Wald zurueck zur Huette, wurde Matsi von einer Gottheit, die sich in einen Tiger verwandelt hatte, aufgehalten, um solange nicht zur Huette yurueckkehren zu koennen, bis Chuchok gegangen war.

Anmerkung: Kinder sind fuer Eltern das hoechste Gut. Sie sollten daher immer folgsam und gute Kinder sein.

 

tl_files/fotos/02-07-2011 072.JPG

สงกรานต์ 2015

สงกรานต์ ๒๕๕๙ songkran 2016

 

 

 

tl_files/fotos/galerie/srngn้amth่anphู้eth่a.jpgtl_files/fotos/galerie/ngansngkrant์2015.jpg

วันสงกรานต์

ประวัติความเป็นมา

"สงกรานต์" เป็นคำภาษาสันสกฤต แปลว่า "ผ่าน" หรือ "เคลื่อนย้ายเข้าไป" ในที่นี้หมายถึงเป็นวันที่พระอาทิตย์ ผ่านหรือเคลื่อนย้าย จากราศีมีน เข้าสู่ ราศีเมษ ในเดือนเมษายน ถือเป็นช่วงสงกรานต์หากพระอาทิตย์เคลื่อนย้าย ในช่วงเดือนอื่น ๆ ถือเป็นการเคลื่อนย้ายธรรมดา ตามปกตินั้น พระอาทิตย์จะย้ายจากราศีหนึ่งไปสู่อีกกลุ่มดาวหนึ่งเป็นประจำทุกเดือน หรือจะเรียกว่าเป็นการย้ายจากกลุ่มดาวหนึ่งไปสู่อีกกลุ่มดาวหนึ่ง ตามหลักโหราศาสตร์หรือภาษาโหร เรียกว่า"ยกขึ้นสู่" ตัวอย่างเช่น พระอาทิตย์ขึ้นสู่ราศีเมษ ก็คือการที่พระอาทิตย์ย้ายจากกลุ่มดาวราศีมีนไปสู่กลุ่มดาวราศีเมษ ซึ่งเป็นราศีถัดไปนั่นเอง

โหรโบราณ ได้แบ่งท้องฟ้าออกเป็น 12 ส่วน ส่วนหนึ่ง ๆ เรียกว่าราศี ซึ่งมีราศีละ 30 องศา รวม 12 ราศี ก็เท่ากับ 360 องศาครบรอบวงกลมพอดี ตามตัวอย่างข้างล่างนี้

ราศีเมษ 
เกิดระหว่างวันที่ 13 เมษายน-13 พฤษภาคม
ราศีพฤษภ 
เกิดระหว่างวันที่ 14 พฤษภาคม - 13 มิถุนายน
ราศีเมถุน 
เกิดระหว่างวันที่ 14 มิถุนายน -14 กรกฎาคม
ราศีกรกฎ 
เกิดระหว่างวันที่ 15 กรกฎาคม - 16 สิงหาคม
ราศีสิงห์ 
เกิดระหว่างวันที่ 17สิงหาคม -16 กันยายน
ราศีกันย์ 
เกิดระหว่างวันที่ 17 กันยายน - 16 ตุลาคม
ราศีตุล 
เกิดระหว่างวันที่ 17 ตุลาคม - 16 พฤศจิกายน
ราศีพิจิก 
เกิดระหว่างวันที่ 17 พฤศจิกายน - 15 ธันวาคม
ราศีธนู 
เกิดระหว่างวันที่ 16 ธันวาคม - 15 มกราคม
ราศีมังกร 
เกิดระหว่างวันที่ 16 มกราคม - 12 กุมภาพันธ์
ราศีกุมภ์ 
เกิดระหว่างวันที่ 13 กุมภาพันธ์ - 13 มีนาคม
ราศีมีน 
เกิดระหว่างวันที่ 14 มีนาคม - 12 เมษายน


ด้วยเหตุนี้ เมื่อสงกรานต์ แปลว่า ผ่าน หรือ เคลื่อนย้ายเข้าไป วันสงกรานต์จึงต้องมีอยู่ประจำทุกเดือน เพราะดวงอาทิตย์จะย้ายจากราศีหนึ่ง ไปสู่อีกราศีหนึ่งซึ่งอยู่ถัดไปเดือนละ 1 ครั้ง เสมอ

แต่ในวันและเวลาที่พระอาทิตย์ยกขึ้นสู่ (ตามภาษาโหร) หรือเคลื่อนย้ายจากราศีมีนเข้าไปสู่ราศีเมษ ในเดือน เมษายน (ซึ่งตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5) เราถือเป็นกรณีพิเศษ เรียกว่าวันมหาสงกรานต์ด้วยถือกันว่าเป็นวันและแวลาที่ตั้งต้นสู่ปีใหม่ เป็นวันเปลี่ยนจุลศักราชใหม่ ตามการคำนวณของโหรผู้รู้ทางโหราศาสตร์ เพราะในสมัยโบราณเรานับถือเดือนเมษายนเป็นเดือนแรกของปี สมัยพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ.2432 ได้กำหนดให้ใช้ วันขึ้น 1 ค่ำเดือน 5 ซึ่งตรงกับวันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ และได้ใช้เรื่อยมา สาเหตุก็เพราะสอดคล้องกับธรรมเนียมโบราณ เนื่องจาก หากนับทางจันทรคติ จะตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำเดือน 5 ซึ่งก็คือวันสงกรานต์ หรือวันที่ดวงอาทิตย์ย้ายจากราศีมีนไปสู่ราศีเมษนั่นเอง

และได้มีการใช้วันที่ 1 เมษายน เป็นวันปีใหม่ของไทยแต่นั้นเรื่อย มาแม้ว่าในปีต่อไปจะไม่ตรงกับวันสงกรานต์ (หมายถึงวันที่ดวงอาทิตย์ย้ายจากราศีมีน ไปสู่ราศีเมษ) ทั้งนี้เพื่อให้มีการกำหนดวันทางสุริยคติที่แน่นอนตายตัวลงไป

ต่อมาในวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ.2483 คณะรัฐบาลของจอมพล ป.พิบูลย์สงคราม ได้ประกาศให้ใช้วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2484 เป็นวันขึ้นปีใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับประเทศอื่น ๆ เป็นสากลทั่วโลกและใช้เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนั้นเรายังถือเอาวันที่ 14 เมษายนเป็นวันครอบครัว อีกด้วย
วันมหาสงกรานต์

เมื่อถึงเดือน 5 ตรงกับวันที่ 13 เมษายนของทุก ๆ ปีเราเรียกวันนี้ว่า " วันสงกรานต์ " ประเพณีไทยเดิมถือว่าวันนี้เป็นวันขึ้นปีใหม่ธรรมเนียมไทยเราก็จะมีการเล่น รื่นเริง มีการรดน้ำดำหัวโดยเฉพาะหนุ่มๆ สาวๆ จะสนุกกันเต็มที่เล่นสาดน้ำกันโดยไม่ถือเนื้อถือตัวเลย ในชนบทหลายแห่ง มีการเล่นพื้นเมืองต่าง ๆ กัน อนึ่งวันนี้บางแห่งจะเริ่มจากวันที่ ๑๓ เมษายน และมีการเล่นสนุกสนานไปราว ๆ๑ สัปดาห์ หรือกว่านั้น แต่ไม่เกิน 2 สัปดาห์ ระยะนี้จะมีการนำน้ำหอมเสื้อผ้าอาภรณ์ไปรดน้ำผู้ใหญ่
ญาติพี่น้องที่เคารพนับถือและทางศาสนาก็จัดให้มีการบายศรีพระสงฆ์สมภารเจ้าวัด
สรงน้ำพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์เท่าที่มีตามวัดต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้เคียง

ประวัติวันสงกรานต์

กำเนิดวันสงกรานต์ มีเรื่องเล่าสืบ ๆ กันมา น่าจดจำไว้ดังข้อความจารึกวัดเชตุพน ฯ ได้กล่าวไว้ประดับความรู้ของสาธุชนทั้งหลายดังต่อไปนี้

" ....เมื่อต้นภัทรกัลป์ มีเศรษฐีคนหนึ่ง มั่งมีทรัพย์มาก แต่ไม่มีบุตร บ้านอยู่ใกล้นักเลงสุรา นักเลงสุรานั้นมีบุตร ๒ คน ผิวเนื้อดุจทอง วันหนึ่งนักเลงสุราเข้าไปในบ้านของเศรษฐี แล้วด่าเศรษฐี ด้วยถ้อยคำหยาบคายต่าง ๆ เศรษฐีได้ฟังจึงถามว่า พวกเจ้ามาพูดหยาบคายดูหมิ่นเราผู้เป็นเศรษฐีเพราะ เหตุใด พวกนักเลงสุราจึงตอบว่า ท่านมีสมบัติมากมายแต่หามีบุตรไม่ เมื่อท่านตายไปสมบัติก็จะ อันตรธานไปหมด หาประโยชน์อันใดมิได้ เพราะขาดทายาทผู้ปกครอง ข้าพเจ้ามีบุตรถึง ๒ คน และ รูปร่างงดงามเสียด้วย ข้าพเจ้าจึงดีกว่าท่าน เศรษฐีครั้นได้ฟังก็เห็นจริงด้วย จึงมีความละอายต่อนักเลง สุรายิ่งนัก จึงนึกใคร่อยากได้บุตรบ้าง จึงทำการบวงสรวงพระอาทิตย์และพระจันทร์ ตั้งจิตอธิษฐาน เพื่อขอให้มีบุตร อยู่ถึง ๓ ปี ก็มิได้มีบุตรสมดังปรารถนา

 

เมื่อขอบุตรจากพระอาทิตย์และพระจันทรืมิได้ดังปรารถนาแล้วอยู่มาวันหนึ่ง ถึงฤดูคิมหันต์ จิตรมาส ( เดือน ๕ ) โลกสมมุติว่าเป็นวันมหาสงกรานต์ คือ พระอาทิตย์ยกจากราศีมีนประเวสสู่ราศีเมษ คนทั้งหลายพากันเล่นนักขัตฤกษ์เป็นการรื่นเริงขึ้นปีใหม่ทั่วชมพูทวีป ขณะนั้นเศรษฐีจึงพาข้าทาสบริวาร ไปยังต้นไทรริมฝั่งแม่น้ำอันเป็นที่อยู่แห่งปักษีชาติทั้งหลาย เอาข้าวสารซาวน้ำ ๗ ครั้ง แล้วหุงบูชา รุกขพระไทรพร้อมด้วยสูปพยัญชนะอันประณีต และประโคมด้วยดุริยางค์ดนตรีต่าง ๆ ตั้งจิตอธิษฐาน ขอบุตรจากรุกขพระไทร รุกขพระไทรมีความกรุณา เหาะไปขอบุตรกับพระอินทร์ให้กับเศรษฐี

พระอินทร์จึงให้ธรรมบาลเทวบุตร ลงไปปฏิสนธิในครรภ์ บิดามารดาขนานนามว่า ธรรมบาลกุมาร แล้วจึงปลูกปราสาทขึ้น ให้กุมารอยู่ใต้ต้นไทรริมสระฝั่งแม่น้ำนั้น ครั้นกุมารเจริญขึ้น ก็รู้ภาษานกแล้วเรียนจบไตรเพทเมื่ออายุได้ ๘ ขวบ และได้เป็นอาจารย์บอกมงคลการต่าง ๆ แก่มนุษย์ ชาวชมพูทวีปทั้งปวงซึ่งขณะนั้นโลกทั้งหลายนับถือท้าวมหาพรหม และกบิลพรหมองค์หนึ่งได้แสดง มงคลการแก่มนุษย์ทั้งปวง

เมื่อกบิลพรหมแจ้งเหตุที่ธรรมกุมารเป็นผู้มีชื่อเสียง เป็นที่นับถือของมนุษย์ชาวโลกทั้งหลาย จึงลงมาถามปัญหาแก่ธรรมกุมาร ๓ ข้อ ความว่า

1. เวลาเช้า สิริคือราศีอยู่ที่ไหน
2. เวลาเที่ยง สิริคือราศีอยู่ที่ไหน
3. เวลาเย็น สิริราศีอยู่ที่ไหน


และสัญญาว่า ถ้าท่านแก้ปัญหา ๓ ข้อนี้ได้เราจะตัดศีรษะเราบูชาท่าน ถ้าท่านแก้ไม่ได้ เราจะตัดศีรษะของท่านเสีย ธรรมกุมารรับสัญญา แต่ผลัดแก้ปัญหาไป ๗ วัน กบิลพรหมก็กลับไปยัง พรหมโลก

ฝ่ายธรรมบาลกุมารพิจารณาปัญหานั้นล่วงไปได้ ๖ วันแล้วยังไม่เห็นอุบายที่จะตอบปัญหาได้ จึงคิดว่าพรุ่งนี้แล้วสิหนอ เราจะต้องตายด้วยอาญาของท้าวกบิลพรหม เราหาต้องการไม่ จำจะหนีไป ซุกซ่อนตนเสียดีกว่า คิดแล้วลงจากปราสาทเที่ยวไปนอนที่ต้นตาล ๒ ต้น ซึ่งมีนกอินทรี ๒ ตนผัวเมีย ทำรังอยู่บนต้นตาลนั้น

ขณะที่ธรรมบาลกุมารนอนอยู่ใต้ต้นตาลนั้น ได้ยินเสียงนางนกอินทรีถามผัวว่า พรุ่งนี้เรา จะไปหาอาหารที่ไหน นกอินทรีผู้ผัวตอบว่า พรุ่งนี้ครบ ๗ วันที่ท้าวกบิลพรหม ถามปัญหาแก่ธรรมบาล กุมาร แต่ธรรมบาลกุมารแก้ไม่ได้ ท้าวกบิลพรหมจะตัดศีรษะเสียตามสัญญา เราทั้ง ๒ จะได้กินเนื้อมนุษย์ คือ ธรรมบาลกุมารเป็นอาหาร นางนกอินทรีจึงถามว่าท่านรู้ปัญหาหรือ ? ผู้ผัวตอบว่ารู้แล้วก็เล่าให้นาง นกอินทรีฟังตั้งแต่ต้นจนปลายว่า

1. เวลาเช้าราศีอยู่ที่ หน้า คนทั้งหลายจึงเอาน้ำล้างหน้า
2. เวลาเที่ยงราศีอยู่ที่ อก คนทั้งหลายจึงเอาน้ำและแป้งกระแจะจันทร์ลูบไล้ที่อก
3. เวลาเย็นราศีอยู่ที่ เท้า คนทั้งหลายจึงเอาน้ำล้างเท้า

ธรรมบาลกุมารนอนอยู่ใต้ต้นไม้ได้ยินการสนทนาของทั้งสองก็จำได้ จึงมีความโสมนัส ปีติยินดีเป็นอันมาก แล้วจึงกลับมาสู่ปราสาทของตน

ครั้นถึงวาระเป็นคำรบ ๗ ตามสัญญา ท้าวกบิลพรหมก็ลงมาถามปัญหาทั้ง ๓ข้อตามที่นัด หมายกันไว้ ธรรมบาลกุมารก็วิสัชนาแก้ปัญหาทั้ง ๓ ข้อตามที่ได้ฟังมาจากนกอินทรีนั้น ท้าวกบิลพรหม ยอมรับว่าถูกต้องและยอมแพ้แก่ธรรมบาลกุมาร และจำต้องตัดศีรษะของตนบูชาตามที่สัญญาไว้ แต่ก่อนที่ จะตัดศีรษะ ได้ตัดเรียกธิดาทั้ง ๗ อันเป็นบาทบริจาริกาของพระอินทร์ คือ



- นางทุงษะเทวี
- นางรากษเทวี
- นางโคราคเทวี
- นางกิริณีเทวี
- นางมณฑาเทวี
- นางกิมิทาเทวี
- นางมโหธรเทวี


อันโลกสมมุติว่าเป็นองค์มหาสงกรานต์ กับทั้งเทพบรรษัทมาพร้อมกัน แล้วจึงบอกเรื่องราว ให้ทราบและตรัสว่าพระเศียรของเรานี้ ถ้าตั้งไว้บนแผ่นดินก็จะเกิดไฟไหม้ไปทั่วโลกธาตุ ถ้าจะโยนขึ้น ไปบนอากาศฝนก็จะแล้ง เจ้าทั้ง ๗ จงเอาพานมารองรับเศียรของบิดาไว้เถิด ครั้นแล้วท้าวกบิลพรหม ก็ตัดพระเศียรแค่พระศอส่งให้นางทุงษะเทวีธิดาองค์ใหญ่ในขณะนั้น โลกธาตุก็เกิดโกลาหลอลเวงยิ่งนัก


เมื่อนางทุงษะมหาสงกรานต์เอาพานรองรับพระเศียรของท้าวกบิลพรหมแล้วก็ ให้เทพบรรษัท แห่ประทักษิณ เวียนรอบเขาพระสุเมรุราช ๖๐ นาทีแล้วจึงเชิญเข้าประดิษฐานไว้ในมณฑป ณ ถ้ำคันธธุลี เขาไกรลาศ กระทำบูชาด้วยเครื่องทิพย์ต่างๆ พระวิษณุกรรมเทพบุตรก็เนรมิตโลงแก้ว อันแล้วไปด้วย แก้ว ๗ ประการ ชื่อภัควดีให้เทพธิดาและนางฟ้าแล้ว เทพยดาทั้งหลายก็นำมาซึ่งเถาฉมุนาตลงล้างน้ำ ในสระอโนดาต ๗ ครั้ง แล้วแจกกันสังเวยทั่วทุกๆ พระองค์ ครั้นได้วาระกำหนดครบ ๓๖๕ วัน โลกสมมุติว่าปีหนึ่งเป็นวันสงกรานต์นางเทพธิดาทั้ง ๗ ก็ทรงเทพพาหนะต่างๆ ผลัดเปลี่ยนเวียนกันมา เชิญพระเศียรกบิลพรหมออกแห่พร้อมด้วยเทพบรรษัทแสนโกฏิ ประทักษิณเวียนรอบเขาพระสุเมรุ ราชบรรษัท ทุกๆ ปีแล้วกลับไปยังเทวโลก... "

 


ชื่อนางสงกรานต์

ดังได้กล่าวมาแล้วว่า ธิดาท้าวกบิลพรหมมีอยู่ด้วยกัน ๗ นาง ถ้าปีใดนางสงกรานต์ตรงกับ อะไรใน ๗ วัน นางทั้ง ๗ ก็ผลัดเปลี่ยนเวียนกันมารับเศียรของบิดาตนเพื่อมิให้ตกลงสู่แผ่นดิน เพราะ จะเกิดฝนแล้งไฟไหม้โลก นางทั้ง ๗ มีชื่อต่างๆ กันและแต่งกายก็แตกต่างกันออกไป ประกอบกับอาวุธ ที่ถือก็แตกต่างกันด้วย ดังนี้

วันอาทิตย์ นางสงกรานต์ชื่อ ทุงษะ ทัดดอกทับทิม เครื่องประดับปัทมราช ( แก้วทับทิม ) ภักษาหาร อุทุมพร ( ผลมะเดื่อ ) อาวุธขวาจักร ซ้ายสังข์ พาหนะครุฑ

วันจันทร์ นางสงกรานต์ชื่อ โคราคะ ทัดดอกปีบ เครื่องประดับมุกดา ภักษาหารเตละ (น้ำมัน) อาวุธขวาพระขรรค์ ซ้ายไม้เท้า พาหนะพยัคฆ์ ( เสือ )

วันอังคาร นางสงกรานต์ชื่อ รากษก ทัดดอกบัวหลวง เครื่องประดับแก้วโมรา ภักษาหาร โลหิต ( เลือด ) อาวุธขวาตรีศูล ( หลาว ๓ ง่าม ) ซ้ายธนู พาหนะวราหะ ( หมู )

วันพุธ นางสงกรานต์ชื่อ มณฑา ทัดดอกจำปา เครื่องประดับไพฑูรย์ ภักษาหารนมเนย อาวุธขวาเข็ม ซ้ายไม้เท้า พาหนะคัทรภา ( ลา )

วันพฤหัสบดี นางสงกรานต์ชื่อ กิริณี ทัดดอกมณฑา เครื่องประดับมรกต ภักษาหารถั่วงา อาวุธขวาขอ ซ้ายปืน พาหนะคช (ช้าง)

วันศุกร์ นางสงกรานต์ชื่อ กิทิมา ทัดดอกจงกลณี เครื่องประดับบุษราคัม ภักษาหารกล้วยน้ำ อาวุธขวาพระขรรค์ ซ้ายพิณ พาหนะมหิงส์ ( ควาย )

วันเสาร์ นางสงกรานต์ชื่อ มโหธร ทัดดอกสามหาว เครื่องประดับนิลรัตน์ ภักษาหารเนื้อทราย อาวุธขวาจักร ซ้ายตรี พาหนะมยุรา ( นกยูง )

ประเพณีการทำบุญในวันสงกรานต์

 แม้ เราจะถือเอาวันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีมใหม่ตามหลักสากล แต่ธรรมเนียมไทยยังให้ความสำคัญกับวันสงกรานต์อยู่ โดยถือเอาเป็นวันขึ้นปีใหม่ตามแบบไทย ดังนั้นเมื่อใกล้ถึงวันสงกรานต์การตระเตรียมทำความสะอาดอาคารบ้านเรือน และเตรียมข้าวของที่จะทำบุญตักบาตร

การทำบุญตักบาตรและการสร้างกุศลด้วยการปล่อยนกปล่อยปลา

สมัย โบราณ เมื่อถึงวันสงกรานต์ประชาชนจะพากันตื่นแต่เช้ามืด เตรียมหุงข้าวต้มแกง เพื่อนำไปทำบุญที่วัด ทุกคนจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าชุดใหม่สีสันสดใส โดยเฉพาะหนุ่มสาวเพราะจะได้มีโอกาสพบปะพูดคุยกันได้อย่างสะดวก แต่ก็ต้องอยู่ในสายตาของผู้ใหญ่

เมื่อทำบุญตักบาตรหรือเลี้ยงพระเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จะมีการบังสุกุลอัฐิของบรรพบุรุ ผู้ล่วงลับเพื่ออุทิศส่วนกุศลไปให้ นอกจากนั้นยังมีกิจกรรมอื่น ๆ เช่น ก่อพระเจดีย์ทราย ซึ่งเป็นการขนทรายเข้าวัดสำหรับไว้ใช้ในงานก่อสร้างโบสถ์วิหาร มีการปล่อยนกปล่อยปลาซึ่งเท่ากับเป็นการแพร่ขยายพันธ์สัตว์ให้คงอยู่ไปชั่ว ลูกชั่วหลาน และที่จะขาดเสียไม่ได้ก็คือการสรงน้ำพระการรดน้ำดำหัวขอพรจากผู้ใหญ่ รวมไปจนถึงการเล่นสาดน้ำกันเองในหมู่หนุ่มสาว
การสรงน้ำพระพุทธรูป,การสรงน้ำพระสงฆ์

ชาวบ้านจะนำดอกไม้ธูปเทียนไปบูชา แล้วเอาน้ำอบไปประพรมที่องค์พระ เพื่อความเป็นสิริมงคล บางแห่งมีการอัญเชิญพระพุทธรูปแห่แหนไปรอบๆหมู่บ้าน เพื่อให้ประชาชนมีโอกาสได้สรงน้ำกันอย่างทั่วถึงหรือจะอัญเชิญพระพุทธรูปจาก หิ้งบูชาในบ้านมาทำพิธีสรงน้ำกันในหมู่ญาติพี่น้องก็ได้

ชาวบ้านจะได้ไปชุมนุมกันที่วัด นิมนต์พระในวัดมายังสถานที่ประกอบพิธี การรดน้ำควรรดที่มิอของท่าน ไม่ควรตักราดเหมือนกับเป็นการอาบน้ำจริง ๆ เพราะพระสงฆ์ถือเป็นเพชที่สูงกว่าคนธรรมดาทั่วไป น้ำที่ใช้ต้องเป็นน้ำฝนหรือน้ำสะอาดผสมน้ำอบไทย เมื่อสรงน้ำแล้วพระท่านก็จะให้ศีลให้พรเพื่อความเป็นสิริมงคล
การรดน้ำดำหัวขอพรญาติผู้ใหญ่และผู้ที่เคารพนับถือ

การ รดน้ำผู้ใหญ่ หากระทำกันเองในบ้าน ลูกหลานจะเชิญพ่อแม่ ปู่ย่าตายาย ญาติผู้ใหญ่ มานั่งในที่จัดไว้ แล้วนำน้ำอบน้ำหอมผสมน้ำมารดให้ท่าน อาจรดที่มือหรือรดทั้งตัวไปเลยก็มีในระหว่างที่รดน้ำท่านก็ให้พรแก่ลูกหลาน เสร็จพิธีแล้วจึงผลัดนุ่งผ้าใหม่ที่ลูกหลานจัดเตรียมไว้ให้ เป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีภายในครอบครัว การรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือ ส่วนใหญ่จะมีผ้าใหว้เช่นเสื้อผ้าและผ้าขาวม้าไปมอบให้ด้วย การรดน้ำส่วนใหญ่จะรดที่มือ ขอศีลขอพร เป็นการแสดงความเคารพผู้มีอาวุโสและผู้มีพระคุณตามธรรมเนียมอันดีของไทย บางหมู่บ้านอาจเชิญคนแก่คนเฒ่ามารวมกัน แล้วให้ลูก ๆ หลาน ๆ ทำพิธีรดน้ำขอพร ซึ่งเป็นประเพณีอันดีงามที่ควรช่วยกันส่งเสริมและอนุรักษ์ไว้


การเล่นสาดน้ำสำหรับหนุ่มสาว

หลัง จากทำพิธีสรงน้ำพระพุทธรูป สรงน้ำพระสงฆ์ และรดน้ำขอพรจากญาติผู้ใหญ่แล้ว พวกหนุ่ม ๆสาวๆ ก็จะเล่นสาดน้ำกันอย่างสนุกสนาน ซึ่งน้ำที่ใช้นำมาสาดกันนั้นต้องเป็นน้ำสะอาดผสมน้ำอบมีกลิ่นหอม เด็กบางคนไม่เข้าใจถึงวัฒนธรรมถึงจุดประสงค์ของการเล่นสาดน้ำในวันสงกรานต์ เอาน้ำผสมสีหรือผสมเมล็ดแมงลัก แล้วนำไปสาดผู้อื่น ซึ่งเป็นการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้อง สถานที่เล่นสาดน้ำสวนใหญ่เป็นลานวัด หรือลานกว้างของหมู่บ้าน พอเหนื่อยก็จะมีขนมและอาหารเลี้ยง ซึ่งชาวบ้านจะช่วยกันเรี่ยไรออกเงินและช่วยกันทำไว้ จนถึงตอนเย็นจึงแยกย้ายกันกลับไปบ้านเพื่ออาบน้ำเปลี่ยนเสื้อผ้าชุดใหม่ แล้วมาชุมนุมกันที่ลาดวัดอีกครั้ง เพื่อร่วมการละเล่นพื้นเมือง
การละเล่นพื้นบ้านในวันสงกรานต์

การ ละเล่นพื้นบ้านหรือจะเรียกว่ากีฬาพื้นเมืองก็ได้ เป็นเกมที่สร้างความสนุกสนานสามัคคี และความใกล้ชิดผูกพันพวกหนุ่ม ๆสาว ๆ จะแบ่งกันเป็นสองฝ่าย จัดทีมเพื่อเล่นแข่งขันกับฝ่ายตรงข้าม มีผู้ใหญ่เป็นกรรมการหรือผู้ควบคุม ส่วนคนเฒ่าคนแก่ก็คอยส่งเสียงเชียร์ให้กำลังใจอยู่วงนอก

การ ละเล่นที่นิยมนำมาเล่นกันในงานสงกรานต์ มีหลายอย่าง เช่น ชักเย่อ ไม้หึ่ง งูกินหาง ช่วงชัย วิ่งเปี้ยว เขย่งแตะ หลับตาตีหม้อ มอญซ่อนผ้า สะบ้า ขี่ม้าส่งเมือง ลิงชิงหลัก ฯลฯ นอกจากนั้นมีการเล่นเพลงยาว ลำตัด รำวง ฯลฯ การประกวดนางสงกรานต์ซึ่งแต่ละกิจกรรมร่วมสร้างความสนุกสนานเป็นกันเอง หนุ่มสาวได้มีโอกาสใกล้ชิดกัน ได้ศึกษาดูนิสัยใจคอ ได้มีโอกาสพูดจาโอภาปราศรัยกัน

ประเพณีการทำบุญและการละเล่นในวันสงกรานต์แต่ละท้องถิ่นอาจ มีผิดแตกต่างกันไปบ้างตามความและยุคสมัยในชนบทอาจกำหนดวันทำบุญและวันสรงน้ำ พระไม่ตรงกันในแต่ละหมู่บ้าน ด้วยเหตุนี้ พวกหนุ่ม ๆจึงมีโอกาสไปเล่นสงกรานต์ได้หลายแห่งในแต่ละปี วันสงกรานต์จึงถือเป็นประเพณีหนึ่งในหลาย ๆ ประเพณีของไทยแต่โบราณ ที่เปิดโอกาสให้หนุ่มสาวได้เลือกคู่หรือดูอุปนิสัยใจคอกันโดยเปิดเผยโดยไม่ ต้องหลบ ๆ ซ่อน ๆ ต่อสายตาผู้ใหญ่

กิจกรรมวันสงกรานต์

การทำบุญตักบาตร 
ถือว่าเป็นการสร้างบุญสร้างกุศลให้ตัวเอง และ อุทิศส่วนกุศลนั้นแก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว การทำบุญแบบนี้มักจะเตรียมไว้ล่วงหน้า นำอาหารไปตักบาตรถวายพระภิกษุที่ศาลาวัด ซึ่งจัดเป็นที่รวมสำหรับทำบุญ ในวันนี้หลังจากที่ได้ทำบุญเสร็จแล้ว ก็จะมีการก่อพระทรายอันเป็นประเพณีด้วย

การรดน้ำ 
เป็นการอวยพรปีใหม่ให้กันและกัน น้ำที่รดมักใช้น้ำหอมเจือด้วยน้ำธรรมดา

การสรงน้ำพระ 
จะรดน้ำพระพุทธรูปที่บ้านและที่วัด และบางที่จัด สรงน้ำพระสงฆ์ ด้วย

การรดน้ำผู้ใหญ่ 
คือการไปอวยพรให้ผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ ครูบาอาจารย์ ท่านผู้ใหญ่มักจะนั่งลงแล้วผู้ที่รดก็จะเอาน้ำหอมเจือกับน้ำรดที่มือท่าน ท่านจะให้ศีลให้พรผู้ที่ไปรด ถ้าเป็นพระก็จะนำผ้าสบงไปถวายให้ท่านผลัดเปลี่ยนด้วย หากเป็นฆราวาสก็จะหาผ้าถุง ผ้าขาวม้าไปให้

การดำหัว 
ก็คือการรดน้ำนั่นเอง แต่เป็นคำเมืองทางภาคเหนือ การดำหัวเรียกกันเฉพาะการรดน้ำผู้ใหญ่ที่เราเคารพนับถือ ผู้สูงอายุ คือการขอขมาในสิ่งที่ได้ล่วงเกินไปแล้ว หรือ การขอพรปีใหม่จากผู้ใหญ่ ของที่ใช้ในการดำหัวส่วนมากมีผ้าขนหนู มะพร้าว กล้วย และ ส้มป่อย

การปล่อยนกปล่อยปลา 
ถือเป็นการล้างบาปที่ทำไว้ เป็นการสะเดาะเคราะห์ร้ายให้มีแต่ความสุขความสบายในวันขึ้นปีใหม่

การนำทรายเข้าวัด 
ทางภาคเหนือนิยมขนทรายเข้าวัดเพื่อเป็นนิมิตโชคลาภ ให้มีความสุขความเจริญ เงินทองไหลมาเทมาดุจทรายที่ขนเข้าวัด


ความสำคัญของวันสงกรานต์

- เป็นวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามประเพณีไทย และถือเป็นวันหยุดประกอบการงานหรือธุรกิจทั่วไป

- เป็นวันทำบุญตักบาตรจัดจตุปัจจัยไทยธรรมถวายพระบังสกุลกระดูกพรรพบุรุษ กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ล่วงลับ

- เป็น วันแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพบุรุษ ในวันนี้จะมีการไปรดน้ำดำหัวขอพรจาก พ่อแม่ ผู้เฒ่าผู้แก่ที่เคารพนับถือ วันสงกรานต์ถือเป็น วันสูงอายุแห่งชาติ

- เป็นวันรวมญาติมิตรที่จากไปอยู่แดนไกลเพื่อประกอบภาระ หน้าที่งานอาชีพของตน เมื่อถึงวันสงกรานต์ทุกคนจะกลับมาร่วมทำบุญสร้างกุศล จึงถือเอาวันที่ 15 เมษายน ซึ่งอยู่ในช่วงสงกรานต์เป็นวันรวมญาติหรือวันครอบครัว

- เป็นวันอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย และส่งเสริมการละเล่นตามประเพณีไทย เช่น มีการทำบุญตักบาตร เล่นสาดน้ำ ชักเย่อ มอญซ่อนผ้า เล่นสะบ้า ฯลฯ

- เป็นวันประกอบพิธีทางศาสนา เช่น มีการทำบุญตักบาตรจัดจตุปัจจัยไทยธรรมถวายพระ บังสุกุลกระดูกบรรพบุรุษ กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ล่วงลับ การสรงน้ำพระพุทธรูป สรงน้ำพระสงฆ์ ขนทรายเข้าวัด (ก่อพระเจดีย์ทราย ) รับศีล ปฏิบัติธรรมฯลฯ


สรุปความสำคัญของวันสงกรานต์
1. เป็นวันหยุดพักผ่อนประจำปี
2. เป็นวันทำบุญสร้างกุศล และประกอบพิธีทางศาสนา
3. เป็นวันอนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรมไทย
4. เป็นวันแสดงความกตัญญูกตเวที และรำลึกถึงผู้ล่วงลับ
5. เป็นวันครอบครัว วันรวมญาติและวันผู้สูงอายุ
6. เป็นวันอนุรักษ์พันธุ์สัตว์
7. เป็นวันเลือกคู่ของหนุ่มสาว

ที่มาจากเว็บไชค์  กระปุกดอทคอม ค่ะ

การทอดกฐิน เป็นประเพณีที่นิยมทำกันมาแต่ครั้งโบราณ นับเป็นศาสนพิธีที่สำคัญของชาวพุทธ

นิยมเริ่มกันตั้งแต่วันแรมค่ำเดือนสิบเอ็ดถึงกลางเดือนสิบสอง  คำว่า กฐิน แปลว่า ไม้สะดึง คือกรอบไม้ชนิดหนึ่งสำหรับขึงผ้าให้ตึง สะดวกแก่การเย็บ ในสมัยโบราณเย็บผ้าต้องเอาไม้สะดึงมาขึงผ้าให้ตึงเสียก่อน แล้วจึงเย็บเพราะช่างยังไม่มีความชำนาญเหมื่อนสมัยปัจจุบันนี้ และเครื่องมือในการเย็บก็ยังไม่เพียงพอ เหมือนจักรเย็บผ้าในปัจจุบัน การทำจีวรในสมัยโบราณจะเป็นผ้ากฐินหรือแม้แต่จีวรอันมิใช่ผ้ากฐิน ถ้าภิกษุทำเอง ก็จัดเป็นงานเอิกเกริกทีเดียว เช่นตำนานกล่าวไว้ว่า การเย็บจีวรนั้น พระเถรานุเถระต่างมาช่วยกัน เป็นต้นว่า พระสารีบุตร พระมหาโมคคัลลานะ พระมหากัสสปะ แม้สมเด็จพระบรมศาสดาก็เสด็จลงมาช่วย ภิกษุสามเณรอื่น ๆ ก็ช่วยขวนขวายในการเย็บจีวร อุบาสกอุบาสิกาก็จัดหาน้ำดื่มเป็นต้น มาถวายพระภิกษุสงฆ์ มีองค์พระสัมมาสัมพุทธะเป็นประธาน โดยนัยนี้ การเย็บจีวรแม้โดยธรรมดา ก็เป็นการต้องช่วยกันทำหลายผู้หลายองค์ (ไม่เหมือนในปัจจุบัน ซึ่งมีจีวรสำเร็จรูปแล้ว)

การถวายกฐิน

   นิยมถวายในโบสถ์ โดยเฉพาะกฐินพระราชทาน ก่อนจะถึงกำหนดเวลาจะเอาเครื่องบริวารกฐินไปจัดตั้งไว้ในโบสถ์ก่อน ส่วนผ้ากฐินพระราชทานจะยังไม่นำเข้าไป พอถึงกำหนดเวลาพระสงฆ์ที่จะรับกฐิน จะลงโบสถ์พร้อมกัน นั่งบนอาสนที่จัดไว้ เจ้าภาพของกฐิน พร้อมด้วยผู้ร่วมงานจะพากันไปยังโบสถ์ เมื่อถึงหน้าโบสถ์เจ้าหน้าที่จะนำผ้าพระกฐินไปรอส่งให้ประธาน ประธานรับผ้าพระกฐินวางบนมือถือประคอง นำคณะเดินเข้าสู่โบสถ์ แล้วนำผ้าพระกฐินไปวางบนพานที่จัดไว้หน้าพระสงฆ์ และหน้าพระประธานในโบสถ์ คณะที่ตามมาเข้านั่งที่ ประธานจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย แล้วกราบพระพุทธรูปประธานในโบสถ์แบบเบญจางคประดิษฐ์สามครั้ง แล้วลุกมายกผ้าพระกฐินในพานขึ้น ดึงผ้าห่มพระประธานมอบให้เจ้าหน้าที่ รับไปห่มพระประธานทีหลัง แล้วประนมมือวางผ้าพระกฐินบนมือทั้งสอง หันหน้าตรงพระสงฆ์แล้วกล่าวคำถวายผ้าพระกฐิน จบแล้วพระสงฆ์รับ สาธุการ ประธานวางผ้าพระกฐินลงบนพานเช่นเดิม แล้วกลับเข้านั่งที่ ต่อจากนี้ไปเป็นพิธีกรานกฐินของพระสงฆ์

กฐินของประชาชน หรือ กฐินสามัคคี หรือในวัดบางวัดนิยมถวายกันที่ศาลาการเปรียญ หรือวิหารสำหรับทำบุญ แล้วเจ้าหน้าที่จึงนำผ้ากฐินที่ถวายแล้วไปถวายพระสงฆ์ ทำพิธีกรานกฐินในโบสถ์เฉพาะพระสงฆ์อีกทีหนึ่ง

การทำพิธีกฐินัตการกิจของพระสงฆ์ เริ่มจากการกล่าวคำขอความเห็นที่เรียกว่า อปโลกน์ และการสวดญัตติทุติยกรรม คือการยินยอมยกให้ ต่อจากนั้นพระสงฆ์รูปที่ได้รับความยินยอม นำผ้าไตรไปครองเสร็จแล้วขึ้นนั่งยังอาสนเดิม ประชาชนผู้ถวายพระกฐินทาน ทายกทายิกา และผู้ร่วมบำเพ็ญกุศล ณ ที่นั้น เข้าประเคนสิ่งของอันเป็นบริวารขององค์กฐินตามลำดับจนเสร็จแล้ว พระสงฆ์ทั้งนั้นจับพัด ประธานสงฆ์เริ่มสวดนำด้วยคาถาอนุโมทนา ประธานหรือเจ้าภาพ กรวดน้ำ และรับพรจนจบ เป็นอันเสร็จพิธี

อานิสงส์กฐินสำหรับพระ

ในพระวินัย ระบุอานิสงส์กฐินไว้ 5 คือ

     1. เข้าบ้านได้โดยมิต้องบอกลาภิกษุด้วยกัน
     2. เอาไตรจีวรไปโดยไม่ครบสำรับได้
     3. ฉันอาหารเป็นคณะโภชน์ได้
     4. เก็บจีวรไว้ได้ตามปรารถนา
     5. ลาภที่เกิดขึ้นเป็นของเธอผู้จำพรรษาในวัดนั้น

อนิสงส์กฐินสำหรับผู้ทอด

โดยทั่วไปผู้เขียนเองและแม้ผู้รู้บางท่านก็ยังไม่เคยพบในพระบาลีที่ระบุไว้โดยตรง แต่ว่าการทอดกฐินเป็นกาลทาน ปีหนึ่งทำได้ครั้งเดียว วันหนึ่งทำได้ครั้งเดียวในปีหนึ่ง ๆ ต้องทำภายในกำหนดเวลา และผู้ทอดก็ต้องตระเตรียมจัดทำเป็นงานใหญ่ ต้องมีผู้ช่วยเหลือหลายคน จึงนิยมกันว่าเป็นพิธีบุญที่อานิสงส์แรง น่าคิดอีกทางหนึ่งว่า พิธีเช่นนี้ได้ทั้งโภคสมบัติ เพราะเราเองบริจาค ได้ทั่งบริวารสมบัติเพราะได้บอกบุญแก่ญาติมิตรใหมาร่วมการกุศล กาลทานเช่นนี้ เรียกว่า ทานทางพระวินัย

คำถวายผ้ากฐิน อย่างมหานิกาย

อิมํ สปริวารํ กฐินจีวรทุสฺสํ สงฺฆสฺส โอโณชยาม (ว่า 3 หน)
แปลว่า "ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้ากฐินจีวรกับทั้งบริวารนี้ แด่พระสงฆ์"

คำถวายผ้ากฐิน อย่างธรรมยุตติกนิกาย

อิมํ ภนฺเต สปริวารํ กฐินนทุสฺสํ สงฺฆสฺส โอโณชยาม สาธุ โน ภนฺเต สงฺโฆ อิมํ สปริวารํ กฐินทุสฺสํ ปฏิคฺคณฺหาตุ ปฏิคฺคเหตฺวา จ อิมินา ทุสฺเสน กฐินํ อตฺถรตุ อมฺหากํ ทีฆรตฺตํ หิตาย สุขาย

แปลว่า "ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอน้อมถวายผ้ากฐิน พร้อมทั้งบริวารนี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย และครั้นรับแล้วขอจงกรานกฐินด้วยผ้านี้ เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนานเทอญ"

หมายเหตุ

ในการทอดกฐินนี้ ยังมีกฐินและข้อพิเศษที่ควรนำมากล่าวไว้ด้วย คือ 1. จุลกฐิน 2.ธงจระเข้

1. จุลกฐิน มีกฐินพิเศษอีกชนิดหนึ่ง เรียกว่าจุลกฐินเป็นงานที่มีพิธีมาก ถือกันว่ามาแต่โบราณว่า มีอานิสงส์มากยิ่งนัก วิธีทำนั้น คือเก็บผ้ายมากรอเป็นด้วย และทอให้แล้วเสร็จเป็นผืนผ้าในวันเดียวกัน และนำไปทอดในวันนั้น กฐินชนิดนี้ ต้องทำแข่งกับเวลา มีผู้ทำหลายคน แบ่งกันเป็นหน้าที่ ๆ ไป ในปัจจุบันนี้ไม่ค่อยนิยมทำกันแล้ว

"วิธีทอดจุลกฐินนี้ มีปรากฏในหนังสือเรื่องคำให้การชาวกรุงเก่าว่า บางทีเป็นของหลวงทำในวันกลางเดือน 12 คือ ถ้าสืบรู้ว่าวัดไหนยังไม่ได้รับกฐิน ถึงวันกลางเดือน 12 อันเป็นที่สุดของพระบรมพุทธานุญาตซึ่งพระสงฆ์จะรับกฐินได้ในปีนั้น จึงทำผ้าจุลกฐินไปทอด มูลเหตุของจุลกฐินคงเกิดแต่จะทอดในวันที่สุดเช่นนี้ จึงต้องรีบร้อนขวนขวายทำให้ทัน เห็นจะเป็นประเพณีมีมาเก่าแก่ เพราะถ้าเป็นชั้นหลังก็จะเที่ยวหาซื้อผ้าไปทอดได้หาพักต้องทอใหม่ไม่" (จากวิธีทำบุญ ฉบับหอสมุด หน้า 119)

2. ธงจระเข้ ปัญหาที่ว่าเพราะเหตุไรจึงมีธงจระเข้ยกขึ้นในวัดที่ทอดกฐินแล้ว ยังไม่ปรากฎหลักฐาน และข้อวิจารณ์ อันสมบูรณ์โดยมิต้องสงสัย เท่าที่รู้กันมี 2 มติ คือ

     1. ในโบราณสมัย การจะเดินทางต้องอาศัยดาวช่วยประกอบเหมือน เช่น การยกทัพเคลื่อนขบวนในตอนจวนจะสว่าง จะต้องอาศัยดาวจระเข้นี้ เพราะดาวจระเข้นี้ขึ้นในจวนจะสว่าง การทอดกฐิน มีภาระมาก บางทีต้องไปทอด ณ วัดซึ่งอยู่ไกลบ้าน ฉะนั้น การดูเวลาจึงต้องอาศัยดาว พอดาวจระเข้ขี้น ก็เคลื่อนองค์กฐินไปสว่างเอาที่วัดพอดี และต่อมาก็คงมีผู้คิดทำธงในงานกฐิน ในชั้นต้น ก็คงทำธงทิวประดับประดาให้สวยงานทั้งที่องค์กฐิน ทั้งที่บริเวณวัดและภายหลัย คงหวั่นจะให้เป็นเครื่องหมายเนื่องด้วยการกฐิน ดังนั้น จึงคิดทำธงรูปจระเข้ เสมือนประกาศให้รู้ว่าทอดกฐินแล้ว

     2. อีกมติหนึ่งเล่าเป็นนิทานโบราณว่า ในการแห่กฐินในทางเรือของอุบาสกผู้หนึ่ง มีจระเข้ตัวหนึ่งอยากได้บุญจึงอุตส่าห์ว่ายตามเรือไปด้วย แต่ยังไม่ทันถึงวัดก็หมดกำลังว่ายตามต่อไปอีกไม่ไหว จึงร้องบอกอุบาสกว่า เหนื่อยนักแล้ว ไม่สามารถจะว่ายตามไปร่วมกองการกุศล วานท่านเมตตาช่วยเขียนรูปข้าพเจ้า เพื่อเป็นสักขีพยานว่าได้ไปร่วมการกุศลด้วยเถิด อุบาสกผู้นั้นจึงได้เขียนรูปจระเข้ยกเป็นธงขึ้นในวัดเป็นปฐม และสืบเนื่องมาจนบัดนี้

ที่มา:  พิธีทอดกฐิน เว็บธรรมะไทย

 

มงคล ๓๘ ประการ



   มงคล คือเหตุแห่งความสุข ความก้าวหน้าในการดำเนินชีวิต ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ให้พุทธศาสนิกชนได้พึงปฏิบัติ นำมาจากบทมงคลสูตรที่พระพุทธเจ้าตรัสตอบปัญหาเทวดาที่ถามว่า คุณธรรมอันใดที่ทำให้ชีวิตประสบความเจริญหรือมี "มงคลชีวิต" ซึ่งมี ๓๘ ประการได้แก่


มารยาทไทย

มารยาททางใจ

ผู้มีมารยาททางใจคือผู้ที่ได้มีการปรับปรุงจิตใจให้ฝักใฝ่ในศีลธรรมคือเราทุกคนย่อมทราบว่าอะไรถูกอะไรผิดด้วยกันทั้งนั้นและย่อมฝักใฝ่ในการทำความดี เมื่อไม่ไม่ชอบอะไร คนอื่นก็ไม่ชอบเหมือนกัน จึงควรวางตนเป็นคนช่างใช้ความคิดเสมอหลักธรรมเป็นแนวปฏิบัติดังนี้คือ

มีพรหมวิหาร คือธรรมประจำใจของผู้ประเสริฐ หรือผู้มีจิตใจยิ่งใหญ่กว้างขวางดุจพระพรหมสี่อย่าง ดังนี้

๑. เมตตา ความรัก ความปรารถนาดี มีไมตรี ต้องการช่วยเหลือให้ทุกคนประสบประโยชน์และ ความสุข

๒. กรุณา ความสงสาร อยากช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นทุกข์ ใฝ่ใจที่จะปลดเปลื้องบำบัดความทุกข์จากความเดือดร้อนของผู้อื่น

๓. มุทิตา ความเบิกบานยินดี เมื่อเห็นผู้อื่นอยู่ดีมีความสุข ก็มีจิตใจแช่มชื่นเบิกบาน

๔. อุเบกขา ความวางใจเป็นกลาง มีจิตราบเรียบ ไม่เอนเอียงด้วยรักหรือชังเมื่อมีคุณธรรมภายในเป็นพื้นฐาน จิตใจเช่นนี้แล้วย่อมทำให้การแสดงออกภายนอกเป็นไปอย่างบริสุทธิ์หนักแน่นและจริงจังฉะนั้น

อ่านต่อทั้งหมด www.prapayneethai.com

เด็กวัดนับแต่อดีตจนปัจจุบัน “ วัด ” นับเป็นศูนย์กลางของสังคม และตัวแทนของสถาบันทางพุทธศาสนาที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาเป็นเวลาช้านาน นอกจากจะเป็นที่พานักของพระภิกษุผู้สืบทอดพระพุทธศาสนาแล้ว วัดยังเป็นองค์กรที่ทาหน้าที่ทางสังคมในรูปแบบอื่นๆอีกมากมาย เช่น เป็นศูนย์กลางทางด้านการศึกษา เป็นที่พึ่งทางใจ สโมสร สถานบันเทิง ที่สอนวิชาชีพ ที่พักคนเดินทาง และฌาปนสถาน เป็นต้น กล่าวได้ว่าวัดมีบทบาทเกี่ยวข้องและผูกพัน รวมทั้งมีอิทธิพลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยและสังคมไทยเป็นอย่างยิ่ง
ในสมัยโบราณที่ยังไม่มีโรงเรียนเช่นปัจจุบัน เด็กผู้ชายมักถูกส่งเข้ามาอยู่ที่วัด เพราะวัดเป็นสถานที่แห่งเดียวที่จะให้การศึกษาเล่าเรียนศิลปะวิทยาการแขนงต่างๆ โดยมีพระสงฆ์ซึ่งเป็นผู้มีความรู้สูงกว่าชาวบ้านเป็นผู้ประสิทธิประสาทวิชาความรู้ให้ทั้งทางโลกและทางธรรม รวมถึงการอบรมจรรยามารยาท ดังนั้น บุคคลไม่ว่าจะมีสถานภาพทางเศรษฐกิจเช่นไร ถ้าต้องการให้บุตรหลานได้เล่าเรียนก็จะนาไปฝากให้อยู่ที่วัด เป็นลูกศิษย์วัด คอยปรนนิบัติรับใช้พระภิกษุสงฆ์ และเมื่อมีอายุพอสมควรก็จะบรรพชาเป็นสามเณรและเรียนธรรมชั้นสูงขึ้นไป ครั้นพออายุครบ ก็จะอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ทาให้เด็กชายส่วนใหญ่อ่านออกเขียนได้ มีความรู้ทางศีลธรรม จริยธรรม และหลักธรรมในทางพุทธศาสนา ถือเป็นเกียรติของตนและครอบครัว และยังเป็นที่ยอมรับยกย่องของสังคม ซึ่งสมัยก่อนจะถือว่าคนที่บวชเรียนแล้วเป็น “ คนสุก ” คือ ผ่านการอบรมบ่มนิสัยมาแล้ว และจะเรียกคานาหน้าผู้ที่สึกจากพระว่า “ ทิด ” เช่น ทิดขาว เป็นต้น
ปัจจุบัน แม้ว่าบทบาทของวัดจะลดน้อยลงไปกว่าเดิมในเรื่องการให้การศึกษา เพราะโรงเรียนได้แยกจากวัดแล้วก็ตาม แต่หน้าที่การให้ความสงเคราะห์ในเรื่องที่อยู่อาศัยแก่เด็กหรือเยาวชนที่มาศึกษาเล่าเรียนก็ยังมีอยู่ โดยเฉพาะเยาวชนจากส่วนภูมิภาค ซึ่งที่ผ่านมา บุคคลสาคัญที่มีชื่อเสียงและมีบทบาทในสังคมจานวนไม่
น้อยก็เริ่มต้นมาจากการใช้ชีวิตอยู่ในวัด โดยมีพระสงฆ์เป็นผู้ให้ความอนุเคราะห์
“ เด็กวัด ” หรือศิษย์วัดในสมัยก่อน มักจะเป็นลูกหลานที่พ่อแม่ ผู้ปกครองส่งมาศึกษาหาความรู้กับ
พระภิกษุสงฆ์ ส่วนสมัยนี้ เด็กวัดมีเพิ่มขึ้นหลายประเภท เช่น เด็กเร่ร่อน ถูกทอดทิ้ง ไม่มีบิดามารดา เด็กที่
ผู้ปกครองฐานะยากจน เด็กที่พ่อแม่มีลูกหลายคนและเลี้ยงไม่ไหว เด็กที่พ่อแม่เสียชีวิตไปแล้ว หรือไปทางาน
ต่างถิ่น เด็กที่มาจากครอบครัวแตกแยก รวมถึงชาวเขาเผ่าต่างๆจากชายแดนที่ฐานะยากจน เป็นต้น
สาหรับผลวิจัยที่ผู้วิจัย ได้เลือกวัดที่เป็นกรณีศึกษา ๕ แห่ง คือวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม วัดสุทัศน
เทพวรารามราชวรมหาวิหาร วัดชนะสงคราม วัดราชาธิวาส และวัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร ด้วย
การศึกษาจากเอกสาร การบอกเล่า การสังเกตและการสัมภาษณ์ทั้งพระภิกษุและศิษย์วัด พบว่า วัตถุประสงค์
ของการมา เป็นศิษย์วัดส่วนใหญ่ก็ยังคล้ายกับอดีต คือ มาอยู่เพื่อการศึกษาเล่าเรียน ในสถาบันการศึกษาที่
ตั้งอยู่กรุงเทพฯ โดยการจะมาเป็นศิษย์วัดใดได้นั้น จาเป็นจะต้องมีบุคคลที่อาจจะเป็นพ่อแม่ พี่น้อง ที่รู้จักกับ
เจ้าอาวาสหรือพระภิกษุในวัด หรือมีเพี่อนที่เคยเป็นศิษย์วัดเป็นผู้แนะนามา ซึ่งมีศัพท์เรียกเฉพาะว่า “ มาตาม
สาย ” แต่ส่วนใหญ่ศิษย์วัดมักจะมีภูมิลาเนาเดียวกับพระภิกษุที่มาอาศัยอยู่ด้วย
เมื่อเข้ามาอยู่วัดแล้ว ก็จะอยู่ในความดูแลของพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งในคณะ ซึ่งอยู่ภายใต้การกากับ
ดูแลของเจ้าคณะอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งพระภิกษุที่เป็นผู้ปกครองโดยตรงของศิษย์วัดจะเป็นผู้ดูแลความเป็นอยู่
ตลอดจนให้คาแนะนาเกี่ยวกับการปฏิบัติตนของศิษย์วัดทั้งในด้านระเบียบ วินัย ความประพฤติ กิริยามารยาท
และการศึกษาเล่าเรียน โดยพระภิกษุแต่ละรูปก็จะมีวิธีการขัดเกลาศิษย์เพื่อให้อยู่ในสังคมชาววัดแตกต่างกันไป
เช่น ให้สังเกตจากการปฏิบัติของพระภิกษุที่เป็นผู้ปกครองเป็นแบบอย่าง หรือจากเพื่อนศิษย์วัดด้วยกัน หรือ
ให้ศิษย์รุ่นพี่เป็นผู้แนะนาในเรื่องต่างๆ ซึ่งการปกครองศิษย์วัดในวัดที่เป็นกรณีศึกษานั้น จะมีข้อกาหนดที่ใช้
เป็นแนวปฏิบัติของผู้อยู่ในวัดทั้งพระภิกษุ สามเณร และศิษย์วัด เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการ
อยู่ร่วมกันเป็นหมู่คณะที่เรียกว่า “ กติกาสงฆ์ ” หรือ “ ระเบียบวัด ” เช่น ศิษย์วัดต้องไม่เสพสิ่งเสพติดให้โทษ
ทุกชนิด ไม่เที่ยวเตร่ยามค่าคืน และให้ความเคารพต่อพระภิกษุสามเณรที่มีวัยวุฒิสูงกว่า ฯลฯ
ส่วน กิจกรรมของศิษย์วัด ส่วนใหญ่จะประกอบด้วย การติดตามพระภิกษุไปบิณฑบาต การจัดสารับ
ถวายพระ การดูแลความสะอาดในบริเวณกุฏิและภายในวัด การอานวยความสะดวกแก่พระภิกษุ รวมทั้ง
กิจกรรมอื่นๆ เช่น การสวดมนต์ไหว้พระและเข้าร่วมประชุมศิษย์วัด การช่วยเหลือเมื่อวัดมีงานสาคัญ การฝึก
ตอบกระทู้ธรรม การติดตามพระภิกษุไปในกิจนิมนต์ในงานพิธีการต่างๆ เป็นต้น
สาหรับบทบาทของ “ วัด ” ที่เป็นองค์กรหนึ่งของสังคมในการส่งเสริมให้ศิษย์วัดประสบความสาเร็จ
ในชีวิต ซึ่งในที่นี้ หมายถึง การมีตาแหน่งหน้าที่การงาน มีอาชีพ มีฐานะมั่นคง หรือเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงเป็นที่
ยอมรับในสังคมนั้นพบว่า การที่ศิษย์วัดได้อาศัยวัดเป็นที่พักอาศัยโดยไม่ต้องเสียค่าเช่า และวัดยังได้อนุเคราะห์
เรื่องอาหารการกิน ตลอดจนค่าใช้จ่ายที่จาเป็นบางส่วน ทาให้ลดภาระของพ่อแม่ผู้ปกครอง และเป็นการเพิ่ม
โอกาสในการศึกษาแก่ศิษย์วัด และจากการที่วัดเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม ที่มีความสงบร่มเย็น ทาให้ศิษย์วัดมี
สมาธิในศึกษาทบทวนบทเรียนเพิ่มขึ้น อีกทั้งวัดยังมีพระภิกษุซึ่งเป็นผู้นาทางจิตใจและสติปัญญาช่วยกล่อม
เกลาจิตใจ อบรมศีลธรรมจรรยา และช่วยชี้นาความประพฤติ ทาให้ศิษย์วัดมีความรับผิดชอบต่อตนเอง มี
ระเบียบวินัย ตรงต่อเวลา และมีมานะพยายาม การที่ศิษย์วัดได้พบปะผู้คนมากมายที่มีพื้นฐานแตกต่างกันที่มา
วัดทาให้ได้เรียนรู้การปรับตัวเข้าหาผู้อื่น มีความอดทน รู้จักการมนุษยสัมพันธ์ที่ดี และเป็นปัจจัยสาคัญในการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคม ซึ่งจากการศึกษาของผู้วิจัย พบว่า ศิษย์วัดในอดีตที่ประสบความสาเร็จในการศึกษา มีอาชีพมั่นคง บางคนรับราชการในตาแหน่งสาคัญๆ เป็นนักการเมือง นักธุรกิจ ที่มีชื่อเสียง ก็ล้วนเป็นผลมาจากการที่บุคคลเหล่านี้เข้ามาอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี ได้พบและสัมผัสแต่สิ่งดีๆ ทาให้เกิดความรู้สึกอยากปฏิบัติแต่สิ่งที่ดีงามตามแบบอย่างที่ได้พบเห็น อันนามาซึ่งการประสบความสาเร็จในชีวิตดังกล่าว
จากที่เล่ามาข้างต้น จะเห็นว่า แม้เด็กวัดจะมาจากที่ต่างๆนานา แต่ส่วนมากเมื่อเข้ามาอยู่ใน “ วัด ” เป็น “ เด็กวัดหรือศิษย์วัด ” แล้ว ต่างก็ต้องอยู่ในระเบียบวินัย มีกฎกติกาที่อาจจะมากกว่าอยู่ “ บ้าน ” ด้วยซ้า ดังนั้น “ วัด ” จึงมีส่วนอย่างมากในการกล่อมเกลาจิตใจ และปลูกฝังคุณธรรมให้กับเด็กและเยาวชนเหล่านี้เป็นกาลังสาคัญของชาติต่อไปในอนาคต
ข้อมูลตัดต่ออ้างอิงจาก :  กลุ่มประชาสัมพันธ์ สานักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม
http://www.m-culture.go.th/detail_page.php?sub_id=1703